วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

Diary 9


วันนี้เป็นสัปดาห์ของการสอบ กลางภาค จึงไมีมีการเรียนการสอน



วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562

Diary 8


Record Knowledge 8
Monday 23 September 2019

🎍 The knowledge  🎍

         กลุ่มที่ 5   นำเสนอนวัตกรรม (Executive Functions) EF

                      
                    เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ
                 ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย




 🎐  Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย

1.Working memory 
     ความจำที่นำมาใช้งาน ➨ ความสามารถในการเก็บข้อมูล    
2.Inhibitory Control 
     การยั้งคิด ➨ และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 
3.Shift หรือ Cognitive Flexibility 
     การยืดหยุ่นความคิด ➨ สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น
4.Focus Attention 
     การใส่ใจจดจ่อ ➨ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
5.Emotional Control 
     การควบคุมอารมณ์ ➨ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
6.Planning and Organizing 
     การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ ➨ เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน
7.Self -Monitoring 
     การรู้จักประเมินตนเอง ➨ รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร
8.Initiating 
     การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด ➨ เมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
9. Goal-Directed Persistence 
     ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย ➨ เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ



        กลุ่มที่ 6   นำเสนอนวัตกรรม (Executive Functions) EF

           Executive Functions คือ กระบวนการทางความคิดในส่วน “สมองส่วนหน้า”
    - เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ  เป็นความสามารถ

ของสมองที่ใช้บริหารจัดการชีวิต
    - โดยในช่วงวัย 3-6 ปีของเด็ก จะเป็นช่วงที่ดีในการพัฒนาทักษะ 

EF ให้กับเด็ก
    -ในช่วงนี้สมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุด และหากพ้น

จากช่วงเวลานี้ไป 
      แม้ทักษะ EF จะยังมีการพัฒนาต่อได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วง

ในปฐมวัย  
     -ซึ่งทักษะ EF นั้น จะช่วยกำกับพฤติกรรมและอารมณ์ ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
     -ช่วยให้สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา วางแผน และจัดการงานต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ดี
         จากการติดตาม EF ระยะยาวตั้งแต่อายุ 6-15 ปี
- พบว่าความจำใช้งานเริ่มชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่อายุ 6-12 ปี
-ในขณะที่ความยืดหยุนในการคิดวิเคราะห์จะมากขึ้นเรื่อยๆ
-ระหว่างอายุ 12-15 ปี การควบคุมยับยั้งจะสำคัญที่สุดและพัฒนามา
อย่างต่อเนื่อง


     💦 ประโยชน์ของ EF

            ส่งผลให้มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนเสร็จ
            •รู้จักการวิเคราะห์ มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ลงมือทำงานได้
           •เป็นคนที่อดทนได้ รอคอยเป็น มีความมุ่งมั่นพร้อมความรับผิดชอบที่จะไปสู่ความสำเร็จ

     💦 ข้อจำกัดของ EF

           •ความจำไม่ดี เรียนรู้ไม่ได้ ทำผิดซ้ำซาก
           •ปรับตัวไม่ได้ อารมณ์เสียเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
           •อารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง เศร้าเสียใจยาวนาน
           •มีปัญหาในการเข้าสังคม
           •มีแนวโน้มเจ็บป่วยโรคจิตเภท เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ฯลฯ
           •มีโอกาสตัดสินใจผิดพลาดในชีวิต เช่น เรียนไม่จบ หรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
           •เสี่ยงต่อภาวะบกพร่องทางสมอง เช่น สมาธิสั้น หรืออัลไซเมอร์




           กลุ่มที่ 7   นำเสนอนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach
                    การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญ
กับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้
ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการ

แสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้

เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้   


       วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
👉 ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ


👉 ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร

กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา


👉 ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอน

แบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะ

เด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จาก

แหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น


👉 ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ 

ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับ

มอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัด

แสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน






        กลุ่มที่ 8   นำเสนอนวัตกรรม STEM (Science Technology Engineering and 

Mathematics Education)

                  แนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทาง

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้

ปัญหา ในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่ง

ศตวรรษที่ 21 







             กลุ่มที่ 9   นำเสนอนวัตกรรม มอนเตสเซอรี่ (Montessori)





                💗 จุดมุ่งหมายของการศึกษาแบบมอนเตสเซอรี่ คือ "ช่วยพัฒนา หรือให้เด็กมีอิสระในด้าน

บุคลิกภาพของเด็กในวิถีทางต่างๆ อย่างมากมาย "



               🎃 ลักษณะการสอนระบบนี้ เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติของการพัฒนาของเด็ก เด็กมี

อิสรภาพในการเลือกจากสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งต่างๆ


               🎃 เด็กปกติในสิ่งแวดล้อมของมอนเตสซอรี่ จะพัฒนาการเรียนรู้ในการทำงานด้วยตนเองและ

ความรู้สึกของความรับผิดชอบ มีวิธีการที่จะควบคุมตนเองได้สำเร็จ






         กลุ่มที่ 10  นำเสนอนวัตกรรม มอนเตสเซอรี่ (Montessori)

                 หลักการของ Montessori

                    ในการศึกษาแนวทางของมอนเตสซอรี่มีหลักอยู่ 5 ประการ คือ

          1. เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ผู้ใหญ่

จึงควรยอมรับในแบบที่เขาเป็น และพัฒนาเด็กไปตามจุดแข็ง


         2. เด็กที่มีจิตซึมซาบได้ จิตใจของเด็กในวัยนี้เรียนรู้ ซึบซับ ข้อมูลทุกอย่างได้

ง่ายมากๆ โดยเฉพาะอายุตั้งแต่เกิด ถึง 3 ขวบ ผ่านประสาทสัผัสด้าน การชิม การดมกลิ่น

 และการสัมผัส


         3. ช่วงเวลาหลักของชีวิต ช่วงแรกจนถึง 6 ขวบเป็นช่วงที่สำคัญมากในการพัฒนาทั้ง

สติปัญญาและจิตใจ ในช่วงนี้ควรีอิสระ ช่วงนี้เด็กๆ สามารถเรียนรุ้ทักษะเฉพาะอย่างได้ดี

ดังนั้นควรหมั่นสังเกตความสนใจ และเตรียมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกัน


        4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งการเรียน

แบบมอนเตสซอรี่จะมีการเตรียมสภาพแวดล้อมให้เด็กๆ ไว้เป็นอย่างดี


        5. การศึกษาด้วยตนเอง มอนเตสซอรี่มีความเชื่อว่า "ไม่ควรช่วยเด็กๆ ในสิ่งที่พวกเขา

คิดว่าทำได้"  การศึกษาด้วยตนเองทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่อระเบียบวินัย ได้ทดลองแก้ปัญหา

ต่างๆ ด้วยตนเอง และทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจพร้อมทั้งเกิดการเห็นคุณค่าในตนเอง




เพิ่มเติม กลุ่มที่ต้องกลับไปแก้ไขในสัปดาห์ที่แล้ว และมานำเสนอในครั้งนี้

         🎄 นำเสนอนวัตกรรม ไฮสโคป  ( High Scope )

                ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้

แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสม

กับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้

โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตาม

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) 

นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้

ของผู้เรียน ะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จาก

ประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง


         แนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) เป็นอย่างไร

ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง



🌈 Teaching Methodes 🌈
              การสอนโดยให้นักศึกษามาแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นการแชร์ความรู้ที่ดี เนื่องจากการค้นหาข้อมูลนั้นย่มมีแหล่งที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเรียนในครั้งนี้จะมีความรู้ที่แปลกใหม่และอาจจะมีเนื้อหาที่ละเอียดมากกว่าการที่มีแต่อาจารย์เป็นผู้สอนเพียงคนเดียว

🌈 Apply 🌈
       ทำการนำเสนอออกมาให้ดีและน่าสนใจเพื่อให้เพื่อน ๆ ได้มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจซึ่งสอดคล้องกับการที่ออกมานำเสนองานของแต่ละกลุ่ม บางกลุ่มถือว่าทำออกมาได้ดีมาก

 🌈 Evalaute Teaching and Learning 🌈

Self-assessment
   
  ൦ วันนี้เรียนรวมกันทั้งสองกลุ่มเรียน มีการนำเสนองาน ซึ่งวันนี้ดิฉันตั้งใจเรียน มีการจดบันทึก ร่วมมือกับการจัดกิจกรรมของเพื่อน ๆ แต่ละกลุ่ม เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย

Evalaute frieads

  ൦ มีการนำเสนองานหลากหลายรูปแบบซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนที่ดี เพื่อบางกลุ่มค้นหารายละเอียดได้ลึกทำให้การเรียนมีความแปลกใหม่ และได้เรียนรู้สิ่งใหม่เพิ่มมากขึ้น

Evalaute teacher

  ൦ อาจารย์แนะนำข้อที่ควรเพิ่มเติม อธิบายให้ชัดเจนขึ้น และมีการให้นักศึกษาตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อน ๆ มีการทบทวนความรู้มากขึ้นจากเดิม