วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary 16


Record Knowledge 16
Monday 18 November 2019

       🎪 The knowledge  
               การเรียนการสอนวันนี้เป็นเรื่องของ  ไฮสโคปกับการส่งเสริม EF
กิจกรรมแรกที่อาจารย์ให้ทำคือการปรบมือตามจังหวะเพลง และแสดงท่าทางตามใจชอบ และเริ่มทำเป็นกลุ่มใหญ่คือทั้งห้อง อีกทั้งมีการจับคู่ และสลับกับเพื่อนที่คู่ด้วยแสดงท่าทางและทำตาม ถัดมาเป็นการแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 10 คน และให้เพื่อนมายืนกลางวน 1 คน และแสดงท่าทางตอนถึงช่วงเพลงที่หยุด หลังจากนั้นเพื่อนก็เกาะไหล่ตามมา และทำแบบนี้ซ้ำๆ จนหมดกลุ่ม จากนั้นเป็นการทำกิจกรรมการใช้ประสาทสัมผัสและความจำในการเริ่มทำกิจกรรม โดยการเคาะกระดาษบนพื้น และมีการทำเป็นจังหวะ ต่อมาอาจารย์ให้เพิ่มจังหวะเข้ามาใหม่ เป็นการเคาะพื้น และมาตีที่เข่าซ้ายและส่งให้เพื่อนคนที่อยู่ทางด้านขวาของตัวเองและอาจารย์ให้หลับตาทำแบบนี้เช่นเดิม 
















           กิจกรรมที่ทำไป มีการช่วยให้ทุกคนดึงประสบการณ์เดิมที่ดีออกมา และมีการฝึกฟังเสียงเพลง และทำท่าประกอบเพลงให้ตรงจังหวะ

🌿EF (Executive Functions)
          เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ

           ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย

🌲 Executive Functions
ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย

1.Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”

3.Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้

4.Focus Attention การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก

5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น

6.Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน

7.Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร

8.Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
🍀 ไฮสโคป
          แนวการสอนแบบไฮ/สโคป (High / Scope) การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคนการเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็วการศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก 6 ขวบแรกเป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแลและสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องแจ้งชัดลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งจำเพาะไปที่พัฒนาเด็กใจเด็กและอนาคตเด็กได้การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้แต่เป็นการจัดประสบการณ์อย่างมีรูปแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการพัฒนาสมรรถนะทางปัญญาและพัฒนาจิตนิยมที่ดีการเรียนการสอนสำหรับปฐมวัยมีหลากหลายรูปแบบแต่สำหรับรูปแบบที่ผู้เขียนจะนำเสนอนั้นก็เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่งรูปแบบการเรียนการสอนที่ว่านั้นก็คือรูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป


🍀 แนวคิดพื้นฐาน
            การสอนแบบไฮ/สโคปมีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage 's Theory) ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญาที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive proce, of learning) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตนการประเมินผลงานอย่างมีแบบแผนช่วยให้เด็กเกิดความรู้ขึ้นเด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมายซึ่งจากแนวคิดนี้ในการเรียนเด็กสามารถเลือกเรียนเลือกปฏิบัติจัดกระทำดำเนินการเรียนรู้และประเมินผลงานของตนเองเด็กจะได้รับการกระตุ้นจากครูให้คิดนำอุปกรณ์มากระทำหรือเล่นด้วยการวางแผนการทำงานแล้วดำเนินตามแผนไว้ตามลำดับพร้อมแก้ปัญหาและทบทวนงานที่ทำด้วยการทำงานร่วมกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มเล็กๆโดยมีครูคอยให้กำลังใจถามคำถามสนับสนุนและเพิ่มเติมสิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้

🍀 แนวคิดสำคัญ
          แนวการสอนแบบไฮ / สโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลายด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

🍀 การเรียนการสอน
          การเรียนการสอนแบบไฮ / สโคปเป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระท่ากับอุปกรณ์หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรงโดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรมโดยใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการคือ

               🍄การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายมีการสนทนาระหว่างครับเด็กว่าจะทำอะไรอย่างไรการวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กเป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ

               🍄การปฏิบัติ (Do) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิดแก้ปัญหาตัดสินใจและทำด้วยตนเองเป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง

               🍄การทบทวน (Review) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่าเด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไรและ
ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติและผลงานที่ทำรวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับการที่เด็กได้ลงมือทำงามหรือกิจกรรมด้วยความสนใจจะทำให้เด็กสนุกกับการทกงานการทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่าง
มีความสุข

   🎪  Teaching Methodes
         การเรียนที่นำเรื่อง EF และ High / Scope มาเป็นแนวทางในการสอน จะช่วยสร้างความสนุกให้เกิดในห้องเรียนและสามารถช่วยพัฒนากระบวนการคิดในรูปแบบต่าง ๆ ได้ดีเนื่องจากมีการบูรณาการกันหลากหลายวิชาซึ่งช่วยส่งเสริมทักษะการคิด การแก้ปัญหา การวางแผน การร่วมมือกันในหมู่คณะ 
  🎪 Apply
         กิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์นำมาช่วยส่งเสริมการเรียนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีการนำทักษะหลาย ๆ ด้านมาสอนในวิชาเดียว เป็นการทำให้นักศึกษาสนุกกับการเรียนและมีความรู้ควบคู่ไปด้วย เช่นดั่งคำที่กล่าวว่า การเล่น เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นเอง
 🎪 Evalaute Teaching and Learning

Self-assessment
   
  ൦ เข้าเรียนตรงเวลามีการร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ มีการฟังและจดบันทึกงาน ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย

Evalaute frieads

  ൦ ให้ความร่วมมือกันดี มีความสามัคคี สามารถช่วยกันทำกิจกรรมและแก้ปัญหา มีการช่วยออกความคิดเห็น และมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

Evalaute teacher

  ൦ มีการนำรูปแบบการสอนแบบ EF และ High / Scope มาสอน และเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและยังสามารถสอนได้ดี มีเนื้อหาในการลำดับคอนเซปการสอนได้ดีสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น