วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Diary 12

Record Knowledge 12
Monday 21 October 2019

   🌿  The knowledge  🌿
         กิจกรรมที่ 1 👉เป็นการเรียนที่มีแผนการจัดประสบการณ์ของรุ่นพี่เป็นแบบอย่าง และมีการพูดคุยในเรื่องของกิจกรรมการสอนในแบบต่าง ๆ เช่น 🌱กิจกรรมการเคลื่อนไหว ว่ามีแบบการสอนอย่างไร มีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย การเคลื่อนไหวมี 2 ส่วน คือ 
1.การเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การสไลด์ การคลาน เป็นต้น
2.การเคลื่อนไหวแบบเนื้อหาสัมพันธ์ คือ การเคลื่อนไหวแบบคำสั่ง การเคลื่อนไหวแบบบรรยาย การเคลื่อนไหวแบบผู้นำ-ผู้ตาม การเคลื่อนไหวแบบข้อตกลง การเคลื่อนไหวประกอบเพลง/ดนตรี การเคลื่อนไหว
🌱กิจกรรมกลางแจ้ง ควรมีรูปแบบการสอนโดยการสาธิตให้เด็กดู เพื่อให้เด็กเข้าใจในเนื้อหา วิธีการทำกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมกลางแจ้ง เน้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
🌱กิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีรูปแบบการสอนที่ต้องสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ด้วย เพื่อให้เด็กเกิดคอนเซปการเรียนที่มีลำดับขั้นตอน เช่น ครูสอนเรื่องผลไม้ ก็ควรถามเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของเด็ก ว่าในคำคล้องจอง นิทาน เพลง เกม คำทายปริศนา มีผลไม้ชนิดใดบ้างที่อยู่ในข้างต้น ว่ามีชนิดอะไรบ้าง หลังจากนั้นก็ถามว่าเด็ก ๆ ชอบผลไม้ชนิดใดในข้อความข้างต้นมากที่สุด หลังจากนั้นก็ควรสอนเด็กให้นำผลไม้ออกมาเรียงโดยใช้สื่อที่เป็นของจริงมาสอน และแบ่งผลไม้โดยใช้เกณฑ์ สี ขนาด พื้นผิว รูปร่าง เป็นต้น เกณฑ์นี้จะขึ้นอยู่กับผู้สอนว่าจะแบ่งอย่างไร ให้เด็กเกิดคอนเซปการเรียนและต่อมาอยากรู้ว่าผลไม้ชนิดใดมีมากกว่าหรือน้อยกว่า ก็สอนเรื่องการหยิบออก 1:1 จำนวนที่เหลืออยู่คือจำนวนที่มากสุด ดังนั้นการสอนเด็กก็ควรมีรูปแบบการสอน หรือแผนการสอนประสบการณ์เพื่อให้เด็กรู้ว่าเราจะเรียนเรื่องอะไรบ้าง
               กิจกรรมที่ 2 👉อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 4 คน โดยอาขารย์แจกกระดาษมากลุ่มละ 1 แผ่น ให้วาดแหล่งน้ำและให้เพื่อนทายชื่อสถานที่นั้น  เพื่อนทุกกลุ่มก็วาดแหล่งน้ำออกมาตามความคิดของแต่ละกลุ่ม 
               กิจกรรมที่ 3 👉อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างแท่งน้ำโดยสร้างมาจากกระดาษหนังสือพิมพ์ และมีเทปกาวให้อย่างจำกัด ให้สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับแรงน้ำหนักของพานและหนังสืออีกจำนวน 8 เล่ม เพื่อน ๆ แต่ละกลุ่มต่างช่วยกันคิดและแก้ปัญหาให้กระดาษสามารถรองรับน้ำหนักของสิ่งของได้
               กิจกรรมที่ 4 👉อาจารย์แจกหลอดมากลุ่มละ 10 อัน และลูกปิงปองจำนวน 1 ลูก ให้นักศึกษาช่วยกันสร้างฝายน้ำให้ลูกปิงปองกลิ้งได้นานที่สุด เพื่อนทุกคนต่างช่วยกันแก้ปัญหา และช่วยกันคิดหาวิธีที่ทำให้ลูกปิงปองเคลื่อนไหวช้าและให้นานที่สุด

     🌲 สรุป : ทุกิจกรรมที่ทำไปนั้นสอดคล้องกับ STEM เพราะมีการบูรณากันทุกวิชาไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 
Sวิทยาศาสตร์ (Science)
Tเทคโนโลยี (Technology)
Eกระบวนการทางวิศวกรรม (Engineering)
Mคณิตศาสตร์ (Mathematics)
        ซึ่งการทำกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งคาบนั้นมีการเรียนที่สามารถดึงเข้าสู่การเรียนแบบ STEM ได้ เช่น กิจกรรมหลอดกับปิงปอง สามารถสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์เรื่อง แรงโน้มถ่วง พลังงานศักย์ ทิศทางการเคลื่อนที่ เทคโนโลยีเรื่อง การใช้กรรไกร คัตเตอร์มาเป็นส่วนในการช่วยให้งานออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน กระบวนการทางวิศวกรรมเรื่องการออกแบบว่าควรทำเช่นไร ให้ลูกปิงปองอยู่บนหลอดได้นาน และคณิตศาสตร์เรื่องการคำนวณระยะทาง มุม องศาต่าง ๆ ในการตั้งให้ลูกปิงปองเคลื่อนที่ลงมา เวลา เป็นต้น


 🌿 Teaching Methodes🌿
         การเรียนที่นำเรื่อง STEM มาเป็นแนวทางในการสอน จะช่วยสร้างความสนุกให้เกิดในห้องเรียนและสามารถช่วยพัฒนากระบวนการคิดในรูปแบบต่าง ๆ ได้ดีเนื่องจากมีการบูรณาการกันหลากหลายวิชาซึ่งช่วยส่งเสริมทักษะการคิด การแก้ปัญหา การวางแผน การร่วมมือกันในหมู่คณะ 

  🌿 Apply🌿
         กิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์นำมาช่วยส่งเสริมการเรียนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีการนำทักษะหลาย ๆ ด้านมาสอนในวิชาเดียว เป็นการทำให้นักศึกษาสนุกกับการเรียนและมีความรู้ควบคู่ไปด้วย เช่นกับคำที่กล่าวว่า การเล่น เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นเอง

 🌿 Evalaute Teaching and Learning🌿

Self-assessment
   
  ൦ เข้าเรียนช้า แต่สามารถตามงามจากเพื่อน ๆ ได้ และมีการแก้ปัญหาในกิจกรรมต่าง ๆ มีการร่วมมือกับเพื่อนที่ดี สามารถทำกิจกรรมได้อย่างมีความสุข

Evalaute frieads

  ൦ ให้ความร่วมมือกันดี มีความสามัคคี สามารถช่วยกันทำกิจกรรมและแก้ปัญหา มีการช่วยออกความคิดเห็น และมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

Evalaute teacher

  ൦ มีการนำรูปแบบการสอนแบบ STEM มาสอน และเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและยังสามารถสอนได้ดี มีเนื้อหาในการลำดับคอนเซปการสอนได้ดีสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้จริง











การทดลองการเคลื่อนที่ของลูกปิงปองบนหลอดของกลุ่มเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น