วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Diary 13

Record Knowledge 13
Monday 28 October 2019

🌸 The Knowledge 🌸
              การเรียนในวันนี้ เป็นการเรียนจากวิทยากร ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ประจำสาขาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ผู้ช่วยศาสตรจารย์ กรรณิการ์  สุสม 
และเป็นการเรียนการเรียนที่นำทั้งสองเซกมารวมกันเพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง 👉สารนิทัศน์
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียน อาจารย์จินตนาแจกกระดาษนักศึกษาคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาเขียนว่า
💗คนเป็นครูที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร : ซึ่งคำตอบของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไปตามความรู้สึกและความเข้าใจของตัวนักศึกษาเอง
ต่อมาเป็นการเข้าเรียนกับท่านวิทยากร ผศ.กรรณิการ์ เริ่มด้วยกิจกรรมออกกำลังกาย (ละลายพฤติกรรม) เพื่อให้เกิดการปรับตัวให้เกิดความคุ้นชินกัน และอาจารย์กรรณิการ์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาเขียนว่า
💗เป้าหมายในการมาอบรม : ว่าจะได้ความรู้ หรือคาดหวังว่าอย่างไรในการมาอบรมครั้งนี้
และเป็นการร้องเพลงพร้อมทั้งเต้นประกอบเพลง บอกว่าน่ารัก เพลงเก็บเด็กเข้าที่ ฝนเทลงมา ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็น เทคนิคการสอน การเก็บเด็ก การพูดเชิงบวก สบสายตา วาจาสร้างสรรค์

🍂ความหมายสารนิทัศน์
          สารนิทัศน์ มาจากคำว่า “สาระ” หมายถึง ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ มาผสมกับคำว่า
“นิทัศน์” หมายถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นดังนั้น “สารนิทัศน์”จึงมีความหมายว่า ส่วนสำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้ผู้อื่นเห็น ในทางการศึกษาปฐมวัยมีคณาจารย์นำสารนิทัศน์มาใช้อย่างหลากหลาย
🌱 โดยสารนิทัศน์ให้ประโยชน์ต่อการแสดงภาพของเด็กโดยกระบวนการด้านเอกสารข้อมูลอย่างชัดเจน ดังนั้น การจัดทำสารนิทัศน์ จึงหมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรม ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกเป็นระยะๆ จะเป็นข้อมูลอธิบายภาพเด็ก ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กได้ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมสติปัญญา และแม้แต่สุขภาพ

🍂 คุค่สำคั
          เพื่อพัฒนาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย โดยการไตร่ตรองและสะท้อนความคิด และการประเมินตนเอง   พัชรี ผลโยธิน , 2542 : Helm , Benekc and Steinheimer 1998. กล่าวว่า
          1. สารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองความต้องการในการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
          2.ครูที่จัดทำสารนิทัศน์มักจะสอนผ่านเด็กประสบการณ์การณ์ตรง
          3.ช่วยให้การสอน หรือการทำงานของครูมีประะสิทธิภาพ
          4.ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ และศักยภาพของเด็ก
          5.เด็กรับรู้ความสำคัญและคุณค่าของการเรียนรู้
          6.ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก,การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนของครู และบทบาทของครู

🍂รูร่นิทัน์
          แบ่งออกได้ 2 รูแปบบ 
คือ      1.หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กแบบเป็นภาพรวมทั้งชั้นเรียน
           2.หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กแบบเป็นรายบุคคล

🍂กิจกรรมหลั4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
             1.กิจกรรมการเก็บรวมรวมหลักฐาน
             2.กิจกรรมแบบไตร่ตรองสะท้อนความคิด
             3.กิจกรรมการนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
             4.กิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

🍂นิทัน์
              1.บทสรุปโครงการ
              2.การสังเกตพัฒนาเด็ก บันทึกพฤติกรรมเด็ก (บันทึกสั้น)
              3.พอร์ตฟอลิโอ
              4.1 ผลงานเด็กรายบุคคล
              4.2 ผลงานเด็กแบบกลุ่ม
              5.การสะท้อนตนเอง

🍂คำถามที่ครูควรใช้ถามเด็กปฐมวัย 
               แยกเป็น 2 ประเภท
1.1 คำถามให้สังเกต เช่น
      1.คำถามให้สังเกต  เช่น  จากการที่ครูผ่าส้มผลนี้เด็ก ๆ เห็นอะไรบ้าง/ในรูปนี้เด็กเห็นอะไรบ้าง
      2.คำถามทบทวนความจำ  เช่น  แมวมีกี่ขา/เมื่อวันจันทรฺเราฟังนิทานเรื่องอะไร
      3.คำถามให้บอกความหมายหรือคำจำกัดความ  เช่น  สัตว์เลี้ยง หมายความว่าอะไร
      4.คำถามบ่งชี้  เช่น  เด็ก ๆ คิดว่าใครผมสั้นที่สุดในห้องเรียนของเรา
1.2 คำถามเพื่อการคิดค้นและขยายความคิด เช่น
      1.คำถามให้อธิบาย  เช่น  เด็กนักเรียนมีหน้าที่อย่างไร/ทำไมเด็ก ๆ จึงไม่ควรวิ่ง
      2.คำถามให้เปรียบเทียบ  เช่น  สุนัขจิ้งจอกแตกต่างจากสนุขบ้านอย่างไร
      3.คำถามจำแนก  เช่น  เด็ก ๆ มีตุ๊กตากี่ชนิด/อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นไม้ตาย
      4.คำถามให้ยกตัวอย่าง  เช่น  สัตว์เลี้ยงในบ้านมีอะไรบ้าง/ผลไม้อะไรมีรสเปรี้ยว
      5.คำถามให้สรุป  เช่น  นิทานเรื่องนี้สอนเด็ก ๆ ในเรื่องใดบ้าง/ฟังเรื่องราวนี้เด็ก ๆ รู้สึกอย่างไร
      6.คำถามให้ประเมินหรือตัดสินใจ  เช่น  ถ้าเด็ก ๆ เลือกได้ เด็ก ๆ อยากเป็นใครในนิทาน

🍂 การประเมินพัฒนาการทางการคิดของเด็กปฐมวัย
     🐾  1. ประเมินตามสภาพจริง ได้แก่  -ประเมินพฤติกรรมที่แสดงออก   -ประเมินผลงานและชิ้นงาน
     🐾  2. ประเมินโดยการทดสอบ  โดยใช้แบบวัด  เช่น  แบบทดสอบ ความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ ของเจอร์รัล เออร์บัล เป็นต้น

🍂 การใช้ผังกราฟฟิกเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย
          เป็นรูปแบบของการแสดงออกทางความคิด ที่สามารถมองเห็นและอธิบายได้อย่างเป็นระบบชัดเจน  ซึ่งประกอบไปด้วยความคิด หรือข้อมูลสำคัญ ๆ ที่เชื่อมโยงกันในรูแปบบต่าง ๆ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนจัดข้อมูลที่กระจายอยู่ให้เป็นระบบ ระเบียบ ง่ายต่อการทำความเข้าใจและช่วยให้จดจำได้นาน

🌸 Teaching Methodes 🌸
         การสอนจากวิทยากรภายนอก ส่งผงฃลให้นักศึกษาเกิดการเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ในด้านต่าง ๆ และทำให้การเรียนมีความสนุกสนาน เนื่องด้วยท่านวิทยากรที่มานั้น มีรูปแบบ เทคนิคการสอนที่เป้นกันเอง ส่งผลทำให้นักศึกษาเกิดความสนุกสนาน สนุกกับการเรียน และเนื้อหาในการเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นสิ่งที่เรียนมาบ้างแล้วแต่ไม่ได้ลงลึก

🌸 Apply 🌸
         การนำรูปแบบต่างๆของสารนิทัศน์ไปใช้เขียนเนื้อหาให้มีความครบถ้วน อีกทั้งการใช้กราฟฟิกต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย ให้เด็กเกิดการคิดอย่างเป็นองค์รวมพร้อมทั้งเป็นการจัดระเบียบของข้อมูลด้วย









        🌸 Evalaute Teaching and Learning 🌸

Self-assessment
   
  ൦ เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  ൦ แต่งกายเรียบร้อย
  ൦ ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  o มีส่วนร่วมกับกิจกรรม

Evalaute frieads

  ൦ ช่วยกันตอบคำถามและปรึกษากัน
  o มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
  o ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evalaute teacher

  ൦ อาจารย์แต่งกายสุภาพ
  ൦ อธิบายหัวข้อการสอนได้เข้าใจ
  o อาจารย์คาดหวังให้นักศึกษาสอนเป็นเพื่อตัวของเราในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น