วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Diary 13

Record Knowledge 13
Monday 28 October 2019

🌸 The Knowledge 🌸
              การเรียนในวันนี้ เป็นการเรียนจากวิทยากร ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ประจำสาขาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ผู้ช่วยศาสตรจารย์ กรรณิการ์  สุสม 
และเป็นการเรียนการเรียนที่นำทั้งสองเซกมารวมกันเพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง 👉สารนิทัศน์
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียน อาจารย์จินตนาแจกกระดาษนักศึกษาคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาเขียนว่า
💗คนเป็นครูที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร : ซึ่งคำตอบของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไปตามความรู้สึกและความเข้าใจของตัวนักศึกษาเอง
ต่อมาเป็นการเข้าเรียนกับท่านวิทยากร ผศ.กรรณิการ์ เริ่มด้วยกิจกรรมออกกำลังกาย (ละลายพฤติกรรม) เพื่อให้เกิดการปรับตัวให้เกิดความคุ้นชินกัน และอาจารย์กรรณิการ์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาเขียนว่า
💗เป้าหมายในการมาอบรม : ว่าจะได้ความรู้ หรือคาดหวังว่าอย่างไรในการมาอบรมครั้งนี้
และเป็นการร้องเพลงพร้อมทั้งเต้นประกอบเพลง บอกว่าน่ารัก เพลงเก็บเด็กเข้าที่ ฝนเทลงมา ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็น เทคนิคการสอน การเก็บเด็ก การพูดเชิงบวก สบสายตา วาจาสร้างสรรค์

🍂ความหมายสารนิทัศน์
          สารนิทัศน์ มาจากคำว่า “สาระ” หมายถึง ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ มาผสมกับคำว่า
“นิทัศน์” หมายถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นดังนั้น “สารนิทัศน์”จึงมีความหมายว่า ส่วนสำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้ผู้อื่นเห็น ในทางการศึกษาปฐมวัยมีคณาจารย์นำสารนิทัศน์มาใช้อย่างหลากหลาย
🌱 โดยสารนิทัศน์ให้ประโยชน์ต่อการแสดงภาพของเด็กโดยกระบวนการด้านเอกสารข้อมูลอย่างชัดเจน ดังนั้น การจัดทำสารนิทัศน์ จึงหมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรม ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกเป็นระยะๆ จะเป็นข้อมูลอธิบายภาพเด็ก ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กได้ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมสติปัญญา และแม้แต่สุขภาพ

🍂 คุค่สำคั
          เพื่อพัฒนาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย โดยการไตร่ตรองและสะท้อนความคิด และการประเมินตนเอง   พัชรี ผลโยธิน , 2542 : Helm , Benekc and Steinheimer 1998. กล่าวว่า
          1. สารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองความต้องการในการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
          2.ครูที่จัดทำสารนิทัศน์มักจะสอนผ่านเด็กประสบการณ์การณ์ตรง
          3.ช่วยให้การสอน หรือการทำงานของครูมีประะสิทธิภาพ
          4.ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ และศักยภาพของเด็ก
          5.เด็กรับรู้ความสำคัญและคุณค่าของการเรียนรู้
          6.ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก,การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนของครู และบทบาทของครู

🍂รูร่นิทัน์
          แบ่งออกได้ 2 รูแปบบ 
คือ      1.หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กแบบเป็นภาพรวมทั้งชั้นเรียน
           2.หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กแบบเป็นรายบุคคล

🍂กิจกรรมหลั4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
             1.กิจกรรมการเก็บรวมรวมหลักฐาน
             2.กิจกรรมแบบไตร่ตรองสะท้อนความคิด
             3.กิจกรรมการนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
             4.กิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

🍂นิทัน์
              1.บทสรุปโครงการ
              2.การสังเกตพัฒนาเด็ก บันทึกพฤติกรรมเด็ก (บันทึกสั้น)
              3.พอร์ตฟอลิโอ
              4.1 ผลงานเด็กรายบุคคล
              4.2 ผลงานเด็กแบบกลุ่ม
              5.การสะท้อนตนเอง

🍂คำถามที่ครูควรใช้ถามเด็กปฐมวัย 
               แยกเป็น 2 ประเภท
1.1 คำถามให้สังเกต เช่น
      1.คำถามให้สังเกต  เช่น  จากการที่ครูผ่าส้มผลนี้เด็ก ๆ เห็นอะไรบ้าง/ในรูปนี้เด็กเห็นอะไรบ้าง
      2.คำถามทบทวนความจำ  เช่น  แมวมีกี่ขา/เมื่อวันจันทรฺเราฟังนิทานเรื่องอะไร
      3.คำถามให้บอกความหมายหรือคำจำกัดความ  เช่น  สัตว์เลี้ยง หมายความว่าอะไร
      4.คำถามบ่งชี้  เช่น  เด็ก ๆ คิดว่าใครผมสั้นที่สุดในห้องเรียนของเรา
1.2 คำถามเพื่อการคิดค้นและขยายความคิด เช่น
      1.คำถามให้อธิบาย  เช่น  เด็กนักเรียนมีหน้าที่อย่างไร/ทำไมเด็ก ๆ จึงไม่ควรวิ่ง
      2.คำถามให้เปรียบเทียบ  เช่น  สุนัขจิ้งจอกแตกต่างจากสนุขบ้านอย่างไร
      3.คำถามจำแนก  เช่น  เด็ก ๆ มีตุ๊กตากี่ชนิด/อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นไม้ตาย
      4.คำถามให้ยกตัวอย่าง  เช่น  สัตว์เลี้ยงในบ้านมีอะไรบ้าง/ผลไม้อะไรมีรสเปรี้ยว
      5.คำถามให้สรุป  เช่น  นิทานเรื่องนี้สอนเด็ก ๆ ในเรื่องใดบ้าง/ฟังเรื่องราวนี้เด็ก ๆ รู้สึกอย่างไร
      6.คำถามให้ประเมินหรือตัดสินใจ  เช่น  ถ้าเด็ก ๆ เลือกได้ เด็ก ๆ อยากเป็นใครในนิทาน

🍂 การประเมินพัฒนาการทางการคิดของเด็กปฐมวัย
     🐾  1. ประเมินตามสภาพจริง ได้แก่  -ประเมินพฤติกรรมที่แสดงออก   -ประเมินผลงานและชิ้นงาน
     🐾  2. ประเมินโดยการทดสอบ  โดยใช้แบบวัด  เช่น  แบบทดสอบ ความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ ของเจอร์รัล เออร์บัล เป็นต้น

🍂 การใช้ผังกราฟฟิกเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย
          เป็นรูปแบบของการแสดงออกทางความคิด ที่สามารถมองเห็นและอธิบายได้อย่างเป็นระบบชัดเจน  ซึ่งประกอบไปด้วยความคิด หรือข้อมูลสำคัญ ๆ ที่เชื่อมโยงกันในรูแปบบต่าง ๆ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนจัดข้อมูลที่กระจายอยู่ให้เป็นระบบ ระเบียบ ง่ายต่อการทำความเข้าใจและช่วยให้จดจำได้นาน

🌸 Teaching Methodes 🌸
         การสอนจากวิทยากรภายนอก ส่งผงฃลให้นักศึกษาเกิดการเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ในด้านต่าง ๆ และทำให้การเรียนมีความสนุกสนาน เนื่องด้วยท่านวิทยากรที่มานั้น มีรูปแบบ เทคนิคการสอนที่เป้นกันเอง ส่งผลทำให้นักศึกษาเกิดความสนุกสนาน สนุกกับการเรียน และเนื้อหาในการเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นสิ่งที่เรียนมาบ้างแล้วแต่ไม่ได้ลงลึก

🌸 Apply 🌸
         การนำรูปแบบต่างๆของสารนิทัศน์ไปใช้เขียนเนื้อหาให้มีความครบถ้วน อีกทั้งการใช้กราฟฟิกต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย ให้เด็กเกิดการคิดอย่างเป็นองค์รวมพร้อมทั้งเป็นการจัดระเบียบของข้อมูลด้วย









        🌸 Evalaute Teaching and Learning 🌸

Self-assessment
   
  ൦ เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  ൦ แต่งกายเรียบร้อย
  ൦ ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  o มีส่วนร่วมกับกิจกรรม

Evalaute frieads

  ൦ ช่วยกันตอบคำถามและปรึกษากัน
  o มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
  o ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evalaute teacher

  ൦ อาจารย์แต่งกายสุภาพ
  ൦ อธิบายหัวข้อการสอนได้เข้าใจ
  o อาจารย์คาดหวังให้นักศึกษาสอนเป็นเพื่อตัวของเราในอนาคต

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Diary 12

Record Knowledge 12
Monday 21 October 2019

   🌿  The knowledge  🌿
         กิจกรรมที่ 1 👉เป็นการเรียนที่มีแผนการจัดประสบการณ์ของรุ่นพี่เป็นแบบอย่าง และมีการพูดคุยในเรื่องของกิจกรรมการสอนในแบบต่าง ๆ เช่น 🌱กิจกรรมการเคลื่อนไหว ว่ามีแบบการสอนอย่างไร มีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย การเคลื่อนไหวมี 2 ส่วน คือ 
1.การเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การสไลด์ การคลาน เป็นต้น
2.การเคลื่อนไหวแบบเนื้อหาสัมพันธ์ คือ การเคลื่อนไหวแบบคำสั่ง การเคลื่อนไหวแบบบรรยาย การเคลื่อนไหวแบบผู้นำ-ผู้ตาม การเคลื่อนไหวแบบข้อตกลง การเคลื่อนไหวประกอบเพลง/ดนตรี การเคลื่อนไหว
🌱กิจกรรมกลางแจ้ง ควรมีรูปแบบการสอนโดยการสาธิตให้เด็กดู เพื่อให้เด็กเข้าใจในเนื้อหา วิธีการทำกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมกลางแจ้ง เน้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
🌱กิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีรูปแบบการสอนที่ต้องสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ด้วย เพื่อให้เด็กเกิดคอนเซปการเรียนที่มีลำดับขั้นตอน เช่น ครูสอนเรื่องผลไม้ ก็ควรถามเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของเด็ก ว่าในคำคล้องจอง นิทาน เพลง เกม คำทายปริศนา มีผลไม้ชนิดใดบ้างที่อยู่ในข้างต้น ว่ามีชนิดอะไรบ้าง หลังจากนั้นก็ถามว่าเด็ก ๆ ชอบผลไม้ชนิดใดในข้อความข้างต้นมากที่สุด หลังจากนั้นก็ควรสอนเด็กให้นำผลไม้ออกมาเรียงโดยใช้สื่อที่เป็นของจริงมาสอน และแบ่งผลไม้โดยใช้เกณฑ์ สี ขนาด พื้นผิว รูปร่าง เป็นต้น เกณฑ์นี้จะขึ้นอยู่กับผู้สอนว่าจะแบ่งอย่างไร ให้เด็กเกิดคอนเซปการเรียนและต่อมาอยากรู้ว่าผลไม้ชนิดใดมีมากกว่าหรือน้อยกว่า ก็สอนเรื่องการหยิบออก 1:1 จำนวนที่เหลืออยู่คือจำนวนที่มากสุด ดังนั้นการสอนเด็กก็ควรมีรูปแบบการสอน หรือแผนการสอนประสบการณ์เพื่อให้เด็กรู้ว่าเราจะเรียนเรื่องอะไรบ้าง
               กิจกรรมที่ 2 👉อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 4 คน โดยอาขารย์แจกกระดาษมากลุ่มละ 1 แผ่น ให้วาดแหล่งน้ำและให้เพื่อนทายชื่อสถานที่นั้น  เพื่อนทุกกลุ่มก็วาดแหล่งน้ำออกมาตามความคิดของแต่ละกลุ่ม 
               กิจกรรมที่ 3 👉อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างแท่งน้ำโดยสร้างมาจากกระดาษหนังสือพิมพ์ และมีเทปกาวให้อย่างจำกัด ให้สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับแรงน้ำหนักของพานและหนังสืออีกจำนวน 8 เล่ม เพื่อน ๆ แต่ละกลุ่มต่างช่วยกันคิดและแก้ปัญหาให้กระดาษสามารถรองรับน้ำหนักของสิ่งของได้
               กิจกรรมที่ 4 👉อาจารย์แจกหลอดมากลุ่มละ 10 อัน และลูกปิงปองจำนวน 1 ลูก ให้นักศึกษาช่วยกันสร้างฝายน้ำให้ลูกปิงปองกลิ้งได้นานที่สุด เพื่อนทุกคนต่างช่วยกันแก้ปัญหา และช่วยกันคิดหาวิธีที่ทำให้ลูกปิงปองเคลื่อนไหวช้าและให้นานที่สุด

     🌲 สรุป : ทุกิจกรรมที่ทำไปนั้นสอดคล้องกับ STEM เพราะมีการบูรณากันทุกวิชาไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 
Sวิทยาศาสตร์ (Science)
Tเทคโนโลยี (Technology)
Eกระบวนการทางวิศวกรรม (Engineering)
Mคณิตศาสตร์ (Mathematics)
        ซึ่งการทำกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งคาบนั้นมีการเรียนที่สามารถดึงเข้าสู่การเรียนแบบ STEM ได้ เช่น กิจกรรมหลอดกับปิงปอง สามารถสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์เรื่อง แรงโน้มถ่วง พลังงานศักย์ ทิศทางการเคลื่อนที่ เทคโนโลยีเรื่อง การใช้กรรไกร คัตเตอร์มาเป็นส่วนในการช่วยให้งานออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน กระบวนการทางวิศวกรรมเรื่องการออกแบบว่าควรทำเช่นไร ให้ลูกปิงปองอยู่บนหลอดได้นาน และคณิตศาสตร์เรื่องการคำนวณระยะทาง มุม องศาต่าง ๆ ในการตั้งให้ลูกปิงปองเคลื่อนที่ลงมา เวลา เป็นต้น


 🌿 Teaching Methodes🌿
         การเรียนที่นำเรื่อง STEM มาเป็นแนวทางในการสอน จะช่วยสร้างความสนุกให้เกิดในห้องเรียนและสามารถช่วยพัฒนากระบวนการคิดในรูปแบบต่าง ๆ ได้ดีเนื่องจากมีการบูรณาการกันหลากหลายวิชาซึ่งช่วยส่งเสริมทักษะการคิด การแก้ปัญหา การวางแผน การร่วมมือกันในหมู่คณะ 

  🌿 Apply🌿
         กิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์นำมาช่วยส่งเสริมการเรียนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีการนำทักษะหลาย ๆ ด้านมาสอนในวิชาเดียว เป็นการทำให้นักศึกษาสนุกกับการเรียนและมีความรู้ควบคู่ไปด้วย เช่นกับคำที่กล่าวว่า การเล่น เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นเอง

 🌿 Evalaute Teaching and Learning🌿

Self-assessment
   
  ൦ เข้าเรียนช้า แต่สามารถตามงามจากเพื่อน ๆ ได้ และมีการแก้ปัญหาในกิจกรรมต่าง ๆ มีการร่วมมือกับเพื่อนที่ดี สามารถทำกิจกรรมได้อย่างมีความสุข

Evalaute frieads

  ൦ ให้ความร่วมมือกันดี มีความสามัคคี สามารถช่วยกันทำกิจกรรมและแก้ปัญหา มีการช่วยออกความคิดเห็น และมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

Evalaute teacher

  ൦ มีการนำรูปแบบการสอนแบบ STEM มาสอน และเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและยังสามารถสอนได้ดี มีเนื้อหาในการลำดับคอนเซปการสอนได้ดีสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้จริง











การทดลองการเคลื่อนที่ของลูกปิงปองบนหลอดของกลุ่มเรา

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Diary 11



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากครงกับวันหยุดชดเชย
เนื่องวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช



วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Diary 10


Record Knowledge 10
Monday 7 October 2019


        🎐  The knowledge  🎐

              วันนี้เรียนรวมทั้งสองกลุ่มเรียน นักศึกษาทุกคนช่วยกันจัดห้องเรียนให้มีพื้นที่ในการนั่งมากที่สุด และนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเดิมที่นักศึกษาได้แบ่งกลุ่มกันเอง แต่มีบางกลุ่มมีนักศึกษามาไม่ครบ อาจารย์จึงได้จัดกลุ่มให้ใหม่ ซึ่งทั้งสองกลุ่มเรียนแบ่งออกเป็นทั้งหมด 8 กลุ่ม 
กิจกรนมที่อาจารย์มอบให้นักศึกษาทำคือ การทำ มินิโปรเจกต์ (Mini Project Approach) 
ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ และมาการทำสารนิทัศน์ ไว้เพื่อสะท้อนตนเองมีการทำดังต่อไปนี้


     🌸  โปรเจกต์ของกลุ่มพวกเรา คือ ดินสอ 🖍️ 🌸

                   ระยะที่ 1 : ประกอบไปด้วย
                                   - หัวข้อที่เด็กๆ ร่วมกันระดมความคิดและเหตุผล
                                   - ประสบการณ์เดิมของเด็กๆ เกี่ยวกับ(โปรเจกต์)ดินสอ
                                   - รูปวาดของเด็กๆ เกี่ยวกับประสบการณ์เดิม
                                   - คำถามที่เด็กๆ อยากรู้(โปรเจกต์)ดินสอ
                                   - แหล่งการหาข้อมูล














                ระยะที่ 2 : ประกอบไปด้วย
                                  - คำตอบที่เป็นเนื้อหาจากคำถามที่เด็กๆ อยากรู้
                           



                 ➤  ระยะที่ 3 : ประกอบไปด้วย
                                   - การจัดนิทรรศการ(การแบ่งหน้าที่ในการพูดจบโปรเจกต์)ดินสอ
                                   - ของที่ระลึกจากโปรเจกต์
                                   - โมเดลโปรเจกต์ชิ้นใหญ่
                                   - มุมที่เกี่ยวกับโปรเจกต์
           🌜 สารนิทศน์ 
                   สารนทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย (Documentation for Young Children) หมายถึง
การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู ้ของเด็กปฐมวัย จากการทำกจิกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกไว้เป็นระยะจะเป็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม แลสติปัญญา อีกทั้งยังสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการจัดกจิกรรมการเรียนการสอนของครูด้วย
                      👇  👇  👇  👇



           ⏳ กลุ่มของเพื่อนๆ อีก 7 กลุ่ม
                   ซึ่งมีการนำเสนอในเรื่องที่ใกล้ตัว เป็นหัวข้อที่เด็กๆ สามารถเรียนได้ เพราะเด็กๆ จะต้องรู้จักและใช้จริง ซึ่งมีรูปแบบการนำเสนอที่แบ่งเป็น 3 ระยะ 

                    🌸 ระยะที่ 1 การนำเสนอหัวข้อย่อยๆ ไม่ลงรายละเอียดลึก
                                ได้แก่ เหตุผลของการเลือกหัวข้อ,ประสบการณ์เดิมของเด็กๆ,คำถามที่เด็กๆอยากรู้,แหล่งการหาข้อมูล

                    🌸 ระยะที่ 2 การนำเสนอข้อมูลที่เป็นเชิงลึก
                               ได้แก่ คำตอบของคำถามที่เด็กๆ สงสัยและตั้งขึ้นมา

                    🌸 ระยะที่ 3 การนำเสนอความรู้ทั้งหมดที่เด็กๆ ได้เรียนให้ผู้ที่สนใจ เช่น น้อง เพื่อน ครู ผู้ปกครอง อื่นๆ ได้ฟังเกี่ยวกับเรื่อง(โปรเจกต์)ที่เด็กๆสนใจ


         👜 โปรเจกต์เรื่อง กระเป๋า 👜


      🖍️ โปรเจกต์เรื่อง ดินสอ 🖍️



      💼 โปรเจกต์เรื่อง กระเป๋า 💼


       🌐 โปรเจกต์เรื่อง แอร์(เครื่องปรับอากาศ) 🌐


        ⬜ โปรเจกต์เรื่อง กระดาษ ⬜


      🀜 โปรเจกต์เรื่อง กระดุม 🀜


      👞 โปรเจกต์เรื่อง รองเท้า 👞





 






     🌸 Teaching Methodes 🌸
         การสอนแบบการนำเรื่อง โปรเจกต์ Project Approach มาให้นักศึกษาได้ลองทำ ลองฝึกเขียนเกี่ยวกับนวัตกรรมโปรเจกต์เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเคยชินและได้ความรู้ที่แน่นมากขึ้น เพื่อนำไปสอนในอนาคต ส่วนขึ้นตอนการทำก็แบ่งออกเป็น 3 ระยะ วิธีการสอนแบบให้เด็กได้ลงมือกระทำเองสามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี และเกิดประสิทธิภาพ 

     🌸 Apply 🌸
          การเขียนการเรียนแบบProject Approachสามารถนำมาส่งเสริมให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้ที่เด็กเป็นศูนย์กลาง การสอนที่เกี่ยวกับเรื่องProject Approachจะทำให้ผู้สอนทราบถึงหัวข้อบางอย่างที่เด็กๆสนใจซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กๆ จะได้สนุกกับการเรียนแบบนี้

   🌈 Evalaute Teaching and Learning 🌈

Self-assessment
   
  ൦ วันนี้เรียนรวมกันทั้งสองกลุ่มเรียน มีการนำเสนองานเกี่ยวกับการเรียน Project Approach  แบบเล็กๆ  ทุกคนตั้งใจทำช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกุ่ม เพื่อนเต็มที่กับการทำงานมาก

Evalaute frieads

  ൦ มีการนำเสนองานหลากหลายกลุ่มซึ่งมีรูปแบบที่คล้ายกัน แต่คนละเนื้อหา บางกลุ่มเพื่อนนำเรื่องมานำเสนอได้น่าสนใจ เหมาะกับการนำไปสอนเด็กได้จริง

Evalaute teacher

  ൦ อาจารย์แนะนำข้อที่ควรเพิ่มเติม อธิบายให้ชัดเจนขึ้น มีการทบทวนความรู้มากขึ้นจากเดิม ทำให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับการเรียน Project Approach